คุณภาพชีวิตดีถ้วนหน้า สาธารณูปโภคสาธารณูปการได้มาตรฐาน สืบสานประเพณีวัฒนธรรม น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ลดใช้พลังงานอย่างยั่งยืน
คู่มือประชาชน
  งานทะเบียนราษฎร  
  การแจ้งเกิด  
  การแจ้งตาย  
  การจดทะเบียนสมรส  
  การจดทะเบียนหย่า  
  การแจ้งย้ายที่อยู่  
  การแจ้งขอเลขที่บ้านใหม่  
  ขอมีบัตรประจำตัวประชาชน  
  ภาษี  
  ภาษีโรงเรือนและที่ดิน  
  ภาษีป้าย  
  ภาษีบำรุงท้องที่  
  ควบคุมอาคาร  
  การขออนุญาตก่อสร้าง  
  การขออนุญาตขุดดิน ถมดิน  
  ประปา  
  การขอใช้น้ำประปา  
  สาธารณสุข  
  ใบอนุญาตประกอบกิจการค้า  
ใบอนุญาตประกอบกิจการ
       ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
           

ภาษีป้าย

ป้ายคืออะไร ?
พระราชบัญญัติ ภาษีป้าย พ.ศ.2510
มาตรา 6 "ป้าย" หมายความว่า ป้ายแสดงชื่อยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลักจารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น

แล้วเจ้าของป้าย มีหน้าที่อะไรบ้าง ?
เจ้าของป้าย มีหน้าที่เสียภาษีป้าย โดยเสียเป็นรายปี ยกเว้นป้ายที่เริ่มติดตั้งหรือแสดงในปีแรก ให้เสียภาษีป้ายตั้งแต่วันเริ่มติดตั้ง หรือแสดงจนถึงวันสิ้นปี และให้คิดภาษีป้ายเป็นรายงวด งวดละ 3 เดือนของปี โดยเริ่มเสียภาษีป้ายตั้งแต่งวดที่ติดตั้งป้ายถึงงวดสุดท้ายของปี (ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง)

ป้ายที่ไม่ต้องเสียภาษี
1. ป้ายที่แสดงไว้ ณ โรงมหรสพ และบริเวณของโรงมหรสพนั้นเพื่อโฆษณามหรสพ
2. ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้า หรือสิ่งห่อหุ้ม หรือบรรจุสินค้า
3. ป้ายแสดงไว้ในบริเวณงานจัดขึ้นเป็นครั้งคราว
4. ป้ายที่แสดงไว้ที่คนหรือสัตว์
5. ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่น หรือภายในอาคารที่เป็นที่รโหฐาน ทั้งนี้เพื่อหารายได้ และแต่ละป้ายมีพื้นที่ไม่เกินที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ไม่รวมถึงป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์
6.ป้ายของราชการส่วนกลางราชการส่วนภูมิภาค หรือราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
7. ป้ายขององค์การที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นๆ และหน่วยงานที่นำรายได้ส่งรัฐ
8. ป้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม
9. ป้ายของโรงเรียนเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่แสดงไว้ ณ อาคารหรือบริเวณของโรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น
10. ป้ายของผู้ประกอบการเกษตร ซึ่งค้าผลผลิตอันเกิดจากการเกษตรของตน
11. ป้ายของวัด หรือผู้ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือการกุศลสาธารณะโดยเฉพาะ
12. ป้ายของสมาคม หรือมูลนิธิ
13. ป้ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ยื่นแบบแสดงรายการ เมื่อไหร่ดี
กระทรวงมหาดไทยกำหนดไว้ว่า ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเดือนมีนาคม ของทุกปี

ข้อควรรู้
1. เจ้าของป้ายอยู่นอกประเทศให้ตัวแทนหรือผู้แทนในประเทศมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายแทนเจ้าของป้าย
2. เจ้าของป้าย ตาย เป็นผู้ไม่อยู่ สาบสูญ เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ให้ผู้จัดการมรดก ผู้ครอบครองทรัพย์มรดก มีหน้าที่ปฏิบัติแทนเจ้าของป้าย

อัตราภาษีป้าย
1. ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน คิดอัตรา 3 บาท / 500 ตร.ซม.
2. ป้ายที่อักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ และ หรือปนกับภาพ และหรือเครื่องหมายอื่น คิดอัตรา 20 / 500 ตร.ซม.
3. ป้าย ดังต่อไปนี้
3.1 ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใดๆ หรือไม่
3.2 ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมด อยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
4. ป้ายใดถ้าอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท


Copyright 2011 -- Maelai Municipality. -- All rights reserved
เทศบาลตำบลแม่หล่าย เลขที่ 99 หมู่ 5 ตำบลแม่หล่าย อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 54000 โทรศัพท์: 0-5464-6842, 0-5465-2660-1
Email:
maelaicity@hotmail.com