คุณภาพชีวิตดีถ้วนหน้า สาธารณูปโภคสาธารณูปการได้มาตรฐาน สืบสานประเพณีวัฒนธรรม น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ลดใช้พลังงานอย่างยั่งยืน
คู่มือประชาชน
  งานทะเบียนราษฎร  
  การแจ้งเกิด  
  การแจ้งตาย  
  การจดทะเบียนสมรส  
  การจดทะเบียนหย่า  
  การแจ้งย้ายที่อยู่  
  การแจ้งขอเลขที่บ้านใหม่  
  ขอมีบัตรประจำตัวประชาชน  
  ภาษี  
  ภาษีโรงเรือนและที่ดิน  
  ภาษีป้าย  
  ภาษีบำรุงท้องที่  
  ควบคุมอาคาร  
  การขออนุญาตก่อสร้าง  
  การขออนุญาตขุดดิน ถมดิน  
  ประปา  
  การขอใช้น้ำประปา  
  สาธารณสุข  
  ใบอนุญาตประกอบกิจการค้า  
ใบอนุญาตประกอบกิจการ
       ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
           

การแจ้งย้ายออก

การบริการ
- เมื่อมีผู้ย้ายเข้าหรือย้ายออกให้เจ้าบ้านแจ้งต่อ นายทะเบียนผู้รับแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ผู้นั้นย้ายออก โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น

หลักฐานที่นำไปแสดง
1. สำเนาทะเบียนบ้าน ( ฉบับเจ้าบ้าน )
2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
3. หนังสือมอบอำนาจจากเจ้าบ้าน ( ถ้ามี )
4. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับ มอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบอำนาจ)
5. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ย้ายที่อยู่ กรณีแจ้งย้ายที่อยู่ของตนเอง ทั้งนี้ผู้ย้าย ที่อยู่สามารถร้องขอทำหน้าที่เจ้าบ้านเพื่อ แจ้งย้ายที่อยู่ของตนเองได้

ขั้นตอนการติดต่อ
1. ยื่นเรื่องต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีชื่ออยู่ใน ทะเบียนบ้าน ( ถึงแม้ว่าเจ้าของบ้าน ไม่สามารถไปแจ้งย้ายออกให้ได้ผู้ที่อยู่สามารถขอ ทำหน้าที่เจ้าบ้าน เพื่อย้ายชื่อตนเองออกได้
2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และรายการบุคคลที่จะย้ายออกลงรายการใน ใบแจ้งการย้ายที่อยู่และจำหน่ายรายการบุคคล ที่ย้ายออกในทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้าน ( ฉบับเจ้าบ้าน ) โดยจะประทับคำว่า "ย้าย" สีน้ำเงินไว้หน้ารายการ และระบุว่าย้ายไปที่ใด
3.นายทะเบียนมอบหลักฐานการแจ้งคืนผู้แจ้ง พร้อมทั้งใบแจ้งการย้ายที่อยู่ตอนที่ 1และ 2 เพื่อนำไปแจ้งย้ายเข้าต่อไป


การแจ้งย้ายเข้า

การบริการ
- เมื่อมีผู้ย้ายเข้าหรือย้ายออกให้เจ้าบ้านแจ้งต่อ นายทะเบียนผู้รับแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ผู้นั้นย้ายออก โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น

หลักฐานที่นำไปแสดง
1. สำเนาทะเบียนบ้าน ( ฉบับเจ้าบ้าน )
2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
3. หนังสือมอบอำนาจจากเจ้าบ้าน ( ถ้ามี )
4. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับ มอบหมายจากเจ้าบ้าน
5. ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ( ท.ร.6 ) ตอนที่ 1 และ 2
   * กรณีใบแจ้งการย้ายที่อยู่สูญหาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ก่อนนำไปย้ายเข้า ผู้ย้ายเข้าสามารถขอใบแทนได้ที่
นายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่ออกใบแจ้งการย้ายที่อยู่ โดยยื่นคำร้องพร้อมสำเนาการแจ้งความประกอบเรื่อง
หรือนำใบแจ้งย้ายที่อยู่ ซึ่งชำรุดไปแสดง

ขั้นตอนการติดต่อ
1. ยื่นเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียนท้องที่ที่จะย้ายเข้า
2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และรายการใบแจ้งการย้ายที่อยู่และเพิ่มชื่อ ในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้าน ( ฉบับเจ้าบ้าน ) โดยตรวจสอบรายการให้ถูกต้องตรงกันและ มอบสำเนาทะเบียนบ้าน และหลักฐานคืนให้ผู้แจ้ง


การแจ้งย้ายปลายทาง

การบริการ
- ผู้ที่ย้ายที่อยู่ สามารถไปแจ้งย้ายออกและย้ายเข้า ณ สำนักทะเบียนแห่งที่อยู่ใหม่ โดยไม่ต้องเดินทางกลับไปแจ้งย้ายออกจากทะเบียน บ้านเดิมทั้งนี้ผู้ย้ายที่อยู่ควรเป็นผู้แจ้งย้ายด้วยตนเอง

หลักฐานที่นำไปแสดง
1. สำเนาทะเบียนบ้าน(ฉบับเจ้าบ้าน) ของบ้านที่จะย้ายเข้า
2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่จะ ย้ายไปอยู่ใหม่ พร้อมคำยินยอมเป็นหนังสือ เจ้าบ้าน
3. บัตรประจำตัวประชาชน

ขั้นตอนการติดต่อ
1. ยื่นหลักฐานต่อนายทะเบียนท้องที่ที่จะย้ายเข้า
2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานและลงรายการ ในใบแจ้งการย้ายที่อยู่โดยให้ผู้แจ้งลงลายมือชื่อ ในช่องผู้แจ้งย้ายออกและช่องผู้แจ้งย้ายเข้าสำหรับช่อง เจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ย้ายเข้าให้เขียนชื่อ-สกุลตัวบรรจง และเสียค่าธรรมเนียม 5 บาท
3. ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 15 วัน (สำนักทะเบียนที่ยังไม่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์)
4. ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 10 นาที (สำนักทะเบียนที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์)


การแจ้งย้ายออก - ย้ายเข้าเกินกำหนด
- เมื่อมีคนในบ้านย้ายออก/ย้ายเข้า เจ้าบ้านไม่แจ้งย้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันย้ายออก/ย้ายเข้า
  ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท


Copyright 2011 -- Maelai Municipality. -- All rights reserved
เทศบาลตำบลแม่หล่าย เลขที่ 99 หมู่ 5 ตำบลแม่หล่าย อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 54000 โทรศัพท์: 0-5464-6842, 0-5465-2660-1
Email:
maelaicity@hotmail.com